วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 3
วันที่ 27 มกราคม 2559


เข้าห้องมาอาจารย์แจกกระดาษคนละแผ่นให้เขียนชื่อ แล้วนำไปแปะที่กระดานหน้าห้อง บนกระดานอาจารย์ทำช่อง2ไว้ โดยเขียนว่ามา กับ ไม่มา นักเรียนที่มาก็ให้เอาชื่อไปติดไว้ช่องที่มา ส่วนคนที่ไม่มาอาจารย์ก็เอาไปติดไว้ที่ช่องไม่มา เพียงแค่นี้ก็ทำให้เป็นคณิตศาสตร์ได้ เพราะเกิดการนับแล้ว (นับจำนวนคนที่มากับไม่มา)ช่องนี้แสดงให้เห็นของการมาเรียนในแต่วันของเด็ก และอาจารย์ก็ถามว่าเราสามารถดัดแปลงเป็นช่องอื่นได้ไหม...ได้โดยการจัดเป็นกลุ่ม และเรียงลำดับที่ เป็นเหมใือนการสอดแทรกคณิตศาตร์เข้าไปในตัว 


และเมื่อ สอนเสร็จ อาจารย์ ก็ให้นำเสอน บทความ วิจัย และ ทีวีครู
ซึ่งวันนี้เป็นเลขที่ของฉันที่ต้องนำเสนอ วิจัย
เนื้อหาดังนี้
การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
จากการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
เป็นงานวิจัยของ คุณกุหลาบ ภูมาก บัณฑิตมหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
การจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยการลงมือทำ เด็กจะเกิดความสนุกสนานเพราะการประกอบอาหารเป็นสิ่งที่เด็กชอบ และอยากทดลอง นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องของด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนอีกด้วย
การทำการทดลอง 
อนุบาลชั้นปีที่2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนโสกเต็นวิทยาคม ต.หนองแดง จ.ขอนแก่น
ระยะเวลาในการทดลอง
ทดลอง 8 สป.ๆ3 วันๆละ1 ครั้ง ใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ 50 นาที่ รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
ระยะที่1 ขั้นเตียมก่อนการประกอบอาหาร ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยใช้สื่อของจริง และรูปภาพ ให้เกิดการเปรียบเทียบ
ระยะที่2 ขั้นจัดประสบการอาหาร ให้เด็กเข้ากลุ่ม กลุ่มละ5คน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการจัดหมวดหมูอาหาร การทำการหาร การปรุง การหั่นผัก ร่วมถึงการรู้ค่าของจำนวนด้วย
ระยะที่3 ขั้นสรุปเป็นการพูดคุยสนทนาโดยใช้คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับลักษณะของวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบอาหารได้ และอาจจะมีกิจกรรมให้วาดรูประบายสีและออกมาถ่ายทอดประสบการณ์หน้าขั้นเรียน
สิ่งที่เด็กได้รับ
1.เรียนรุ้เกี่ยวกับโภชนาการ อาหารต่างๆ
2.รู้จักกการคำนวณ เช่น การวัด การกะ และปริมาณ
3.พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้แข็งแรง
4.ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสังเกตุ การชิมรส การดมกลิ่น การฟังเสียงที่เกิดขึ้น และการสัมผัส
5. รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม 







วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 2
วันที่ 20 มกราคม 2559


เข้าห้องมา อาจารย์พูดคุยทักทาย และแจกกระดาษA4ให้คนละแผ่นให้พับเป็น 4 ช่องอย่างไรก็ได้
มีเพื่อนคนนึงพับไม่เหมือนเพื่อนๆ อาจารย์เลยบอกว่า ถ้าเราเป็นครูแล้วเจอเด็กแบบนี้ ห้ามทักเขา เพราะถ้าเราทักเขาแล้วเขาจะไม่กล้าทำอีก ต่อไปเขาก็จะทำตามเพื่อนหรืออยู่ในคำสั่งตลอดเวลา ไม่ได้เกิดความคิดสร้างสรรค์(สะกัดกั้นความคิด)

หลังจากนั้นก็พับเพิ่มอีก 4 ช่อง เป็น 8 ช่อง และให้เราฉีกตามแนวนอนแล้วเขียนชื่อ ตัวอย่าง น.ส.จิรญา พัวโสภิต ลงตรงส่วนใดของกระดาษก็ได้ บางคนเขียนตรางกลึ่งกลางของกระดาษ บางคนเขียนข้างบน ข้างล่างของกระดาษ เมื่อเขียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เอาไปติดที่กระดานติดตามแนวไหนก็ได้อีก

เพื่อนๆก็ติดกันตามความคิดสร้างสรรค์เลย เมื่ออาจารย์เห็นดังนั้นเลยบอกให้คนที่เขียนชื่อไม่ตรงกลึ่งกลางให้นำกลับไปเขียนใหม่และหลังจากนั้นทุกคาบให้นำมาติดตัวมาด้วยทุกครั้งที่เรียน


การพับกระดาษเป็นเหมือนการคิดเลขไปในตัว จาก 4 เพื่ม 4 เป็น 8 และยังได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อีก จะพับอย่างไรก็ได้แต่ต้องได้ 8 ช่อง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ไปในตัว เช่นการนับ การจัดเรียง การจัดระเบียบ
และการเขียนให้เหมาะกับกระดาษ(การสมดุล) 

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์สอนเข้าใจมาก ทำให้อยากเรียนตลอดเวลา 
ประเมินตัวเอง : สนใจในการเรียน เพราะอาจารย์สอนสนุก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ทุกครั้งที่ถาม






วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอน ประจำวันพุธที่ 13 มกราคม 2559(เช้า)
เข้าห้องมา พูดคุยกับอาจารย์
และอาจารย์ก็ถามสาเหตุของคนที่ไม่มาในอาทิตย์ที่แล้ว ซึ่งคือเราเอง เหตุผลคือไปเข้าค่ายชมรม
แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษรียูสคนละแผ่น จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มทำการสอน
*****สรุปดังนี้*****
คณิตศาสตร์เป็นเครื่องที่มีความสำคัญพอๆกับประสาท สำหรับการเรียนรู้ ยกตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
เราใช้คณิตศาสตร์มากมาย เช่น ใช้เงินซื้อของ คิดเลข การเล่นหุ่น การคำนวณภาษี และคณิตศาสตร์ก็เป็นสิ่งสำคัญมากในการดำรงณ์ชีวิตในประจำวัน ดังคำที่ว่า "อะไรก็ตามที่มันมีผลกระทบ แสดงว่ามันเป็นสิ่งสำคัญ"แล้วอาจารย์ก็ถามเราว่า คณิตศาสตร์ในความหมายของเราหมายถึงอะไร ส่วนตัวเราคิดว่า มันคือตัวเลข ที่บวกลบคูณหาร ซึ่งนั่นมันก็ความคิดของเรา และอาจารย์ก็ต่อยอดเข้าการเรียนของเด็กปฐมวัย ว่าเด็กวัยนี้ควรจะเรียนเกี่ยวกับรูปร่าง หนาบาง รูปทรง วงกลม และการเรียนของเด็กปฐมวัยถ้าจะให้สนุกต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
รูป ผลงาน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน:อาจารย์สอนเข้าใจ และตั้งใจสอนมากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน
ประเมินตัวเอง:มีความกระตื้อรือล้นในการเรียน เพราะนั่งข้างอาจาย์ กลัวอาจารย์จะถาม
ประเมินเพื่อนในห้อง:ทุกคนตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามดีมากทุกครั้งที่อาจารย์ถาม